วันอังคารที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2561

กระต่ายพันธุ์ไลอ้อน-เฮด

14.กระต่ายพันธุ์ไลอ้อน-เฮด
เป็นกระต่ายพันธุ์ใหม่ที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เหมือนกับเป็น พันธุ์ แฟนซี กล่าวกันว่าต้นกำเนิดอยู๋ ในประเทศเบลเยี่ยม ผู้เพาะพันธุ์กระต่าย พยายามเพาะกระต่ายพันธุ์ดวอร์ฟโค้ท ขนยาว (long Coated Dwarf) ซึ่งมีลักษณะแคระขนยาว โดยข้ามสายพันธุ์ระหว่างกระต่ายพันธุ์สวิส ฟอกซ์เล็ก ผสมกับ กระต่ายพันธุ์เบลเยี่ยมแคระ หรือ ในบางครั้งก็ผสมกับ วู๊ดดี้เจอร์ซี่ กระต่ายพันธุ์ไลอ้อน-เฮด (ซึ่งกลายเป็นสายพันธุ์ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ ในการพยายามผสม ข้ามสาย พันธุ์ข้างต้น) ในที่สุดก็กลายเป็นสายพันธุ์ ที่ได้รับความนิยมมาก กว่ากระต่ายสายพันธุ์ดวอร์ฟโค้ทขนยาว

กระต่ายพันธุ์ฟลอริดาไวท์

13.กระต่ายพันธุ์ฟลอริดาไวท์
      ฟลอริดาไวท์เป็นกระต่ายขนาดกลาง ลำตัวกลม สั้น หัวกลม และหูตั้ง และเหมือนกับชื่อสายพันธุ์ จะมีสีขาวอย่างเดียวและมีตาสีชมพู ฟลอริดาไวท์จะค่อนข้างเชื่องหากได้รับการฝึกให้คุ้นเคยกับคนตั้งแต่เด็ก และอาจจะต้องมีการทำหมันเพื่อควบคุมพฤติกรรมให้เรียบร้อย

images

กระต่ายพันธุ์นิวซีแลนด์

12.กระต่ายพันธุ์นิวซีแลนด์
      กระต่ายน้อย นิวซีแลนด์ไวท์แรบบิท มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Oryctolagus cuniculus กระต่ายพันธ์นี้เป็นกระต่ายพื้นเมืองของประเทศนิวซีแลนด์ มีลักษณะเด่นคือโครงสร้างของตัวจะใหญ่กว่ากระต่ายของไทยมีขนสีขาวจนถึงสีเหลืองอ่อน ๆ มีสะโพกใหญ่ไหล่กว้างและมีลูกดกซึ่งมีลักษณะส่วนใหญ่คล้ายกระต่ายไทยมากบางครั้งก็ทำให้ยากต่อการแยกว่าไหนกระต่ายไทยและตัวไหนนิวซีแลนด์ไวท์แรบบิทกันแน่ แต่ก็มีจุดสักเกตที่ทำให้แยกได้คือหน้าตาของเจ้านิวซีแลนด์ไวท์ จะมีลักษณะกลมกว่ากระต่ายไทยอย่างชัดเจนและเมื่อโตเต็มที่ตัวผู้หนัก 4.1-5.0 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 4.5-5.5 กิโลกรัม มีอายุขัย5-8ปี
694221-topic-ix-9

กระต่ายพันธุ์เท็ดดี้แบร์

11.กระต่ายพันธุ์เท็ดดี้แบร์
    กระต่ายแฝดตุ๊กตา เท็ดดี้แบร์(Teddy Bear)  เป็นกระต่ายที่ได้มาจากการพัฒนาที่นิ่งแล้วระหว่าง กระต่ายไทย กับกระต่ายที่มีลักษณะขนยาวจำพวก สายพันธ์English Angora โดย เจอร์รี่ วู๊ดดี้ จึงทำให้สามารถพบได้ทั่วไปในประเทศไทย จึงมีในประเทศไทยเท่านั้น และได้รับความนิยมมากเนื่องจากราคาไม่แพง  เท็ดดี้แบร์เป็นกระต่ายขนาดกลาง ๆ ขนาดโตเต็มวัยสำหรับเพศผู้หนักประมาณ 1.5 ถึง 1.8 กิโลกรัม ส่วนเพศเมียหนักประมาณ 1.6-2กิโลกรัม และลักษณะพิเศษและเสน่ห์อยู่ที่ขนซึ่ง ยาวปกคลุมทั้งลำตัวและใบหน้า

images

กระต่ายพันธุ์คาลิฟอร์เนีย

1o.กระต่ายพันธุ์คาลิฟอร์เนีย
      กระต่ายพันธุ์ คาลิฟอร์เนีย (Californian Breed)  เป็นกระต่ายขนาดกลางโตเต็มที่หนัก 3.5-4.5 กิโลกรัม  แคลิฟอร์เนียสายเป็นพันธุ์ของกระต่ายในประเทศ ได้รับการพัฒนา ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1920 โดยจอร์จเวสต์  กระต่ายแคลิฟอร์เนียเป็นสายพันธ์การผลิตเนื้อสัตว์

url

กระต่ายพันธุ์อเมริกันฟัซซี่ลอป

9.กระต่ายพันธุ์อเมริกันฟัซซี่ลอป
      American Fuzzy Lop เป็นกระต่ายพันธ์ขนาดเล็กเลยถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของกระต่ายแคระ  ต้นกำเนิดของอเมริกันฟัซซี่ลอป มาจากการประเทศฮอลแลนด์ หรืออีกกระแสหนึ่งเล่าว่ากระต่ายสายพันธุ์นี้เกิด จากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างฮอลแลนด์ลอปที่ลักษณะขนเป็นแบบอังโกร่า จาก นั้นก็ถูกขายไปยังฝั่งตะวันออก โดยลักษณะลูกที่เกิดมามีขนยาวคล้ายพันธ์อังโกร่า ทั้งนี้อเมริกันวฟัซซี่ลอปถูกเสนอให้มีการยอมรับสายพันธ์ ในปี ค.ศ 1988 หรือ 2531โดย เพตตี้กรีน คาร์ล
      จุดเด่นที่สำคัญคือ มีหูตกน่ารักตามธรรมชาติและมีขนที่ยาวสวย มีหัวคล้ายลักษณะกลมหูหนาและแบน ยิ่งสั้นยิ่งถือว่าลักษณะดี เพราะว่าเป็นการแสดงถึงลักษณะของกระต่ายแคระ หูจะต้องแนบข้างแกมส่วนหัวและหูปกคลุมด้วยขนธรรมดา ขนไม่ยาวสักเท่าไร ขนแต่ไม่ยาวพอควรตกแต่งได้ ขาหลังมี ขนธรรมดา ขนที่ตัวหนาแน่นเสมอกันตลอดทั้งตัว ขนมีลักษณะค่อนข้างหยาบและมีความยาวไม่น้อยกว่า 2นิ้ว

images

กระต่ายเฟลมมิชไจแอนท์

8.กระต่ายเฟลมมิชไจแอนท์
      ต้นกำเนิดมาจาก ประเทศเบลเยี่ยม จัดอยู่ในกระต่ายสายพันธุ์ยักษ์ น้ำหนักอยู่ที่ 5.9 กิโลกรัม
ลักษณะที่สำคัญ มีลำตัวใหญ่ยาวแต่สมส่วนและไม่ อ้วน หูของมันจะตั้ง โคนหูหนาและแข็ง ตามปกติหูจะมีความยาว 6 นิ้ว (15 เซนติเมตร ครึ่งไม้บรรทัดนั่นเอง) ตัวเมียอาจจะมีเหนียงหนานุ่มขนาดใหญ่ มีหลายสี เช่น สีดำ โอปอ ส้ม บลู ขาว

 iages (1)

กระต่ายพันธุ์วู๊ดดี้ทอย

7.กระต่ายพันธุ์วู๊ดดี้ทอย
      กระต่ายพันธุ์วู๊ดดี้ ทอย นี้จะมีลักษณะคล้ายกับ Teddy Bear มากกว่า เพราะว่า พัฒนาสายพันธุ์ต่อจาก Teddy Bear มองแล้วคล้ายกับเอา Teddy Bear มาหดให้เล็กลง เพราะว่า หน้าตาคล้ายกับ Teddy Bear เลย ทั้งนี้ไม่ได้มียีนส์แคระ เพราะหากมียีนส์แคระนั้น Woody Toy จะผสมกับ Woody Toy ไม่ได้ เนื่องจาก จะเกิดลูกที่เป็น peanut ซึ่งเป็นปัญหา จากยีนส์แคระ ที่เป็นยีนส์ด้อยมาเจอกัน แต่ปรากฏว่า Woody Toy ไม่ได้ให้ลูก peanut จึงไม่ใช่ กระต่ายแคระ

images

กระต่ายพันธุ์แองโกล่า

6.กระต่ายพันธุ์แองโกล่า
      กระต่ายขี้เล่นแองโกล่า Angora Rabbit ดั้งเดิมมาจากเมืองแองโกล่า ประเทศตุรกีเหมือนแมว และแพะแองโกล่านั้นเอง  แรงเริ่มเดิมทีเจ้ากระต่ายขึ้เล่นแองโกล่าเป็นสัตว์เลี้ยงยอมนิยมของพระบรมศานุว งศ์ของฝรั่งเศส ร่วมถึงเศรษฐีมีเงินในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 และแพร่กระจายไปในส่วนต่างของยุโรปในตอนท้ายศตวรรษที่ 20และเข้ามาในอเมริกาประมาณปี 1900 กระต่ายชนิดนี้มีขนาดเล็กมาก อายุเฉลี่ยคือประมาณ 5-7ปี มีขนาดหัวที่เล็กกลืนไปกับลำตัวที่มีลักษณะกลม ขาสั้นส่วนใหญ่เป็นสีขาวล้วนและที่สำคัญมีขนที่ยาวจนได้รับฉายาอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นกระต่ายที่ขนยาวที่สุดในโลกอีกด้วย ด้วยความยาวของขนนี้เองทำให้กระต่ายพันธ์นี้สามารถผลิตขนครั้งละ 2นิ้ว ซึ่งสามารถตัดได้ถึง 4 ครั้งต่อปีเลยทีเดียว เลยทำให้มันเป็นที่หมายปองของอตุสาหกรรมเสื้อผ้าของฝรั่งเศสในยุคนั้นจนถึงปัจจุบัน และไม่เป็นที่นิยมในการเลี้ยงในเมืองร้อนเพราะความยาวของขนมันนั้นเอง

images

กระต่ายพันธุ์อิงลิสลอป

5.กระต่ายพันธุ์อิงลิสลอป
    กระต่ายพันธุ์อิงลิสลอป เป็นกระต่ายพันธุ์แรกที่มีลักษณะพิเศษที่พัฒนามาจากประเทศอังกฤษ
ในปี คริสตศักราช ที่ 19 เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์การเลี้ยงกระต่าย และการดูแลกระต่ายแบบสัตว์เลี้ยงทั่วไป ในปีวิคเธอเรียน การเลี้ยงกระต่ายนั้นเพื่อใช้เนื้อ และต้องการขนเท่านั้น ต่อมาอิงลิสลอปได้พัฒนาสายพันธุ์มาเป็นกระต่ายพันธุ์ไจแอนด์อื่นๆ ทำให้ตัวเลขของผู้ขยายพันธุ์มีมากขึ้น รวมถึง เฟนรช์ลอป ซึ่งพัฒนาจากแม่พันธุ์ของ อิงลิสลอป และ ฟรีมิส ไจแอนด์ และ ฮอล์แลนด์ ลอป ที่พัฒนามาจากเนเธอแลนด์ ดราฟ และ เฟรนช์ลอป อีกด้วย
      กระต่ายพันธุ์นี้เป็นพันธุ์ลอปพื้นเมือง กระต่ายพันธุ์นี้เที่ยบกับลอปสายพันธุ์อื่นๆแล้ว ยังรูปร่างเพรียวกว่า และมันยังได้ชื่ออีกว่าเป็นพันธุ์ที่มีหูยาวอีกด้วย ด้วยความยาวของหูที่ยาวถึง 22 นิ้ว ซึ่งใหญ่กว่าพนัธุ์อื่นๆ ซึ่งวัดในช่วงขนาดอายุ 6 เดือนเต็มที่ อิงลอสลอปตัวผู้จะมีความยาวจากหู ซึ่งวัดรวมจากตรงหน้าผาก ส่วนตัวเมียหูจะแคบกว่าตัวผู้ ท อิงลิสลอป ทั้งสองชนิดนี้ มีทั้งสีแบบ Solid , Broken, และสีพื้น และสีต่างๆมากมายเช่น ดำ, เหลืองอมน้ำตาล, ขาว, เหลืองอมน้ำตาลทอง, เขม่าน้ำตาลทอง, หรือ ขนสั้น

674230-topic-ix-0

กระต่ายพันธุ์ดัทช์

4.กระต่ายพันธุ์ดัทช์
กระต่ายสายพันธุ์ดัทช์มีต้นกำเนิดที่ประเทศฮอลแลนด์ ประมาณ คริสตศักราช1850 กระต่ายสายพันธุ์ดัทช์ถือว่าเป็นพันธุ์ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดตั้งแต่ที่พวกเรารู้ จากการปรากฎตัว และจากกระต่ายทุกสายพันธุ์ที่ค้นพบ เนื่องจากลักษณะลวดลายที่โดดเด่นของดัทช์มันจึกถูกนำมาพัฒนาสายพันธุ์ และขยายความหลากหลายของสายพันธุ์ เพื่อคงความสมบูรณ์และลักษณะมาร์คกิ้งของกระต่ายดัทช์ เนื่องจากความต้องการที่จะต้องการลักษณะลวดลายที่สมบูรณ์ของมัน จึงเป็นสิ่งถ้าทายสำหรับผู้พัฒนาสายพันธุ์ปัจจุปันได้รับความนิยมมากในอเมริกา เป็นสายพันธุ์ที่มีลักษณะมาร์คกิ้งเป็นเอกลักษ์ณ์ กระต่ายสายพันธุ์ดัทช์เป็นพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันมากที่สุด แต่ต่อมาเมื่อกระต่ายแคระ หรือที่เรียกว่า DWARF RABBIT ได้ถูกพัฒนาขึ้น  กระต่ายดัทช์จึงได้รับความนิยมน้อยลง แต่ถึงอย่างไรก็ตาม กระต่ายสายพันธุ์ดัทช์ ก็ยังติดอันดับ 1 ใน10 ของกระต่ายที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของคนทั่วโลก
fred

กระต่ายพันธุ์มินิเร็กซ์

3.กระต่ายพันธุ์มินิเร็กซ์

เป็นสายพันธ์ที่ได้รับการยอมรับ รับเข้า ARBA เมื่อปี 1988กระต่ายสายพันธุ์มินิเร็กซ์เป็นกระต่ายที่มีโครงสร้างสมดุลและได้สัดส่วน ร่างกายของมันกะทัดรัด มีความกว้างสมดุลกับความยาว ข่วงไหล่ ลำตัว และปั้นท้าย ทุกอย่างพัฒนามาอย่างดี หัวไหลแคบกว่าบั้นท้่้ายเล็กน้อย ทำให้ตัวค่อยๆ เรียวลง หัวของตัวเมียค่อยข้างเรียบกว่าหัวของตัวผู้
ขนในอุดมคติต้องยาว 5/8 นิ้้ว (1.6เซนติเมตร) ขนควรตรงและเป็นมัน มีการ์ดแฮร์จำนวนมาก ขนชั้นนอกให้ความรู้สึกนุ่มและสปริงตัว

รูปร่างลักษณะของกระต่าย
ลำตัว ลำตัวต้องสั้น เล็กกะทัดรัด ไหล่หนา และมีความกว้างเท่ากับความกว้างของสะโพก ความกว้างและส่วนสูง จะต้องใกล้เคียงกัน ไหล่โค้งได้รูปรับกับส่วนโค้งของสะโพกที่กลมกลึง ซึ่งทำให้เน้นความสูงของตัวกระต่าย โดยที่ความกว้างและส่วนสูงจะต้องสมดุลกัน
หัว หัวโต มีขนาดใหญ่สมดุลกันกับลำตัว ตัวผู้จะมีหัวใหญ่กว่าตัวเมีย หัวเป็นทรงกลมเมื่อมองจากทุกทิศทาง ส่วนโค้งของหัวมองดูกลมไม่มีสะดุด หัวตั้งสูงและติดกับไหล่มากที่สุด
art_609783

กระต่ายเนเธอร์แลนด์ดวอฟ

2.กระต่ายเนเธอร์แลนด์ดวอฟ
      กระต่ายพันธุ์นี้ได้ชื่อว่าเป็น อัญมณีแห่งกระต่ายสวยงาม หรือ Gem of the Fancy และเป็นที่นิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และในยุโรป เช่นประเทศเยอรมนี และประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่เป็นต้นกำเนิดของสายพันธุ์นี้ ด้วยเหตุผลที่ว่า สายพันธุ์นี้เป็นเหมือนกระต่ายในฝัน คือ มีขนาดเล็ก มีหลากหลายลักษณะสี หรือ Variety กินอาหารน้อย ต้องการพื้นที่ในการเลี้ยงน้อย โดยรวมก็คือ เป็นสัตว์เลี้ยงที่เหมาะสมสำหรับยุคที่ต้องประหยัดในขณะนี้ นอกเหนือจากลักษณะที่น่ารักและคล่องแคล่ว ว่องไวแล้ว กระต่ายแคระยังมีเสน่ห์ดึงดูดใจผู้ที่ได้พบเห็น ไม่ว่าจะเป็นลักษณะที่ขี้เล่น ช่างสนอกสนใจไปเสียทุกสิ่ง และลักษณะที่เล็ก สั้น ตัวกลม หัวกลม ตากลมโต บ้องแบ๊ว ชอบยืนสองขาเพื่อสังเกตสิ่งที่อยู่รอบตัว

92041cf1a75e104ae8ce32b1c2c5ad82_0

กระต่ายฮอลแลนด์ลอป

 11001918_891641884215345_7809256343122994204_n
 1. กระต่ายฮอลแลนด์ลอป
      นักพัฒนาพันธุ์กระต่ายชาวเนเธอร์แลนด์ชื่อ นายแอนเดรียนเดอคอก ซึ่งในขณะนั้นเป็นนักพัฒนากระต่ายสายพันธุ์แทน แต่กลับมีความชื่นชอบกระต่ายสายพันธุ์เนเธอร์แลนด์ดวอฟและสายพันธุ์เฟรนช์ลอปเป็นพิเศษ มีความคิดที่จะผสมกระต่ายให้ได้กระต่ายหูตกที่มีขนาดเล็กลงกว่าที่เป็นอยู่ ดังนั้นในช่วงฤดูหนาวปี ค.ศ. 1949 หรือ พ.ศ. 2492 เขาได้ผสมกระต่ายเฟรนช์ลอปเพศผู้กับกระต่ายขาวเนเธอร์แลนด์ดวอฟเพศเมีย โดยหวังว่าจะได้กระต่ายหูตกที่ตัวเล็กลง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ หลังจากการผสมข้ามพันธุ์ในครั้งนั้น สองปีต่อมา คือในปี ค.ศ. 1951 หรือ พ.ศ. 2494 เขาลองผสมกระต่ายเฟรนช์ลอปเพศเมียกับกระต่ายเนเธอร์แลนด์ดวอฟเพศผู้ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะผสมกระต่ายต่างสายพันธุ์ที่มีขนาดที่แตกต่างกันมากเช่นนี้ แต่เขาก็ประสบความสำเร็จ จากความพยายามผสมในครั้งที่ 3 จนกระทั่งได้ลูกกระต่ายออกมาทั้งหมดหกตัว ทุกตัวมีหูตั้งและชิดกัน อันเกิดจากลักษณะเด่นของกระต่ายเนเธอร์แลนด์ดวอฟ
ที่มา https://rabbitlop.wordpress.com/ สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2561

วันอังคารที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2561

ประวัติกระต่าย

     

ประวัติกระต่าย



       กระต่ายจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ประเภทสัตว์เลือดอุ่น ในอันดับ Lagomorpha เดิมจัดกระต่ายไว้เป็นสัตว์ฟันแทะในอันดับ Rodentia ร่วมกับพวกหนูและกระรอก แต่เมื่อพบว่ากระต่ายมีลักษณะหลายอย่างเป็นของตนเอง ที่แตกต่างจากพวกหนูและกระรอกมาก โดยเฉพาะกระต่ายจะมีฟันตัดสองคู่ทางด้านหน้าของขากรรไกรบนคู่ที่สองมีลักษณะเป็นปุ่มเล็กซุกอยู่ภายในคู่หน้า ในขณะที่หนูและกระรอกมีฟันตัดเพียงคู่เดียว
กระต่ายถือกำเนิดในโลกมาเมื่อประมาณ 50 ล้านปีมาแล้ว ในบริเวณทวีเอเชียและอเมริกาเหนือ ทั่วโลกมีจำนวนชนิดของกระต่ายรวม 58 ชนิด ในจำนวนนี้ 44 ชนิด จัดอยู่ในวงศ์กระต่ายธรรมดา (Leporidae) และอีก 14 ชนิด อยู่ในวงศ์กระต่ายหูสั้น (Ochotonidae) กระต่ายวงศ์แรกมีขาหลังที่ยาว ทำให้วิ่งได้รวดเร็ว ใบหูยาวและหมุนไปมาได้ และมีหางสั้น ขนฟูเป็นกระจุก ส่วนกระต่ายหูสั้นมีขาทั้งคู่หน้า และคู่หลังสั้นพอๆกัน ใบหูสั้นเป็นมนกลม และไม่มีหางให้เห็นภายนอก ในวงศ์กระต่ายธรรมดา ยังแบ่งออกได้เป็นกระต่ายเลี้ยง (rabbit) และกระต่ายป่า (hare) ซึ่งมีความแตกต่างกันมากในลักษณะของ กระโหลกศีรษะ กระต่ายเลี้ยงออกลูกในโพรงใต้ดิน ไม่มีขน และไม่ลืมตาจนกว่าจะมีอายุได้ 10 วัน ส่วนกระต่ายป่าออกลูกบนพื้นดินในพงหญ้ารก ลูกที่ออกมามีขนปกคลุมตัว และตาเปิดตั้งแต่วันแรกเกิด นอกจากนี้ กระต่ายป่ามีนิสัยชอบวิ่งหนีศัตรูมากกว่าจะซุกซ่อนในโพรงดังเช่นกระต่ายเลี้ยง ที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ และกระต่ายป่าชอบอยู่โดดเดี่ยว ในขณะที่กระต่ายเลี้ยงชอบอยู่เป็นฝูง กระต่ายเลี้ยง (European rabbit) มีเพียงชนิดเดียว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Orytolagus cuniculus มีถิ่นกำเนิดในคาบสมุทร ไอบีเรียและแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ ต่อมามีการนำไปเลี้ยงทั่วโลก สำหรับกระต่ายป่านั้น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lepus peguensis มีเขตแพร่กระจายในประเทศพม่า ไทย อินโดจีน และเกาะไหหลำ พบอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้า และบริเวณป่าดั้งเดิมที่สภาพถูกทำลายทั่วประเทศ ลงไปทางทิศใต้ จนถึงบริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัดประจวบคีรีขันธ์กับจังหวัดชุมพรกระต่ายอาศัยอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมหลายแบบ ตั้งแต่บริเวณเขตหิมะในแถบอาร์กติก จนถึงทะเลทรายและป่าในเขตร้อน อาหารได้แก่ หญ้าและพืชล้มลุก รากไม้ เปลือกไม้ยืนต้น และไม้พุ่ม กระต่ายมีนิสัยกินมูลของตัวเอง โดยในเวลากลางวันจะถ่ายออกมาเป็นมูลแข็งและ ในเวลากลางคืนจะถ่ายมูลอ่อนที่มีวุ้นเคลือบ ซึ่งกระต่ายจะกินในเวลาเช้า เชื้อบักเตรีในมูลอ่อนเมื่อมาถูกกับอากาศจะสร้างวิตามินบางชนิดขึ้น วิตามินนี้จำเป็นมากต่อสุขภาพของกระต่าย หากไม่ได้กินมูลอ่อนกระต่ายจะตายภายในเวลา 3 วันกระต่ายเลี้ยงในทวีปยุโรปภาคเหนือผสมพันธุ์ในเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนสิงหาคม หรือเดือนกันยายน ผสมพันธุ์โดยการปฏิสนธิภายใน ออกลูกได้ 3-5 ครอก ครอกละ 5-6 ตัว สำหรับกระต่ายป่าในซีกโลกภาคเหนือ ออกลูก 2-4 ครอก ครอกละ 1-9 ตัว ในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน แต่ในเขตร้อนกระต่ายป่าผสมพันธุ์ได้ตลอดปี ในธรรมชาติปกติกระต่ายมีอายุประมาณ 10 ปี

ที่มา http://pirun.ku.ac.th/~b521030212/2.html สืบค้นเมือวันที่ 24 มกราคม 2561